วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง "ล้ำยุคไปกับระบบติดตามด้วยดาวเทียม GPS"

เข้าร่วมสัมนาเรื่อง "ล้ำยุคไปกับระบบติดตามด้วยดาวเทียม GPS (Global Positioning System)"

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม 2551

เวลา 13.00-16.00


จากการเข้าร่วมได้ความรู้คือ ส่วนประกอบของระบบจีพีเอส

- ส่วนอวกาศ Space Segment (SS)

- ส่วนควบคุม Control Segment (CS)

- ส่วนผู้ใช้ User Segment (US)



ประเภทเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส

- เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบรังวัด คือ การใช้คลื่นส่งวัดระยะแทนการใช้รหัส C/A วัดระยะ ทำให้การวัดมีความถูกต้องขึ้นเป็นพันเท่า วิธีก่ทำงานคือ นำเครื่องรับแบบรังวัดไปวางที่หมุดที่ต้องการหาตำแหน่งเปรียบเทียบกันเป็นเวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการรับสัญญาณมาประมวลผลได้เป็น เส้นฐาน แล้วนำข้ออมูลดังกล่าว มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการรังวัดตำแหน่งอื่นๆ ที่ต้องการทราบค่าเพื่อหาพิกัดที่ถูกต้องของตำแหน่งนั้น

- เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบนำหน คือ รับสัญญาณที่เป็นคลื่นวิทยุจากดาวเทียม ใขขณะเดียวกันก็สร้างรหัส C/A(Coarse/Acquisition) ขึ้นมาเปรียบเทียบกับรหัสที่ถอดได้จากสัญญาณ เมื่อเปรียบเทียบได้หรัสที่ตรงกันจะทำ ให้รู้เวลาที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางจากดาวเทียมมายังเครื่องรับ


หลักในการบอกตำแหน่งจีพีเอส

- การรับสัญญาณจากดาวเทียมโดยหลักการรูปสามเหลี่ยมระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับ

- GPS วัดระยะโดยใช้การเดินทางของคลื่นวิทยุ

- ในดาวเทียมและเครื่องรับจำเป็นจะต้องมีนาฬิกาที่ละเอียดสูงมาก

- นอกจากระยะทางแล้วจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศด้วย

- ในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และชั้นบรรยากาศโลก ความเร็วคลื่นวิทยุเดินทางได้ช้าลง จึงต้องทำการแก้ไขจุดนี้ด้วย


วิทยาการ

คุณสิทธิธรรม อู่รอด

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

-

ไม่มีความคิดเห็น: